จุดประสงค์ของการประดิษฐ์คอมในสมัยแรกนั้น เพื่อจะให้คอมพิวเตอร์ทำงานบางอย่างแทนมนุษย์ เช่น การคำนวณเลข ซึ่งถ้าเป็นตัวเลขจำนวนมากๆ มนุษย์จะใช้เวลาในการคำนวณมากและมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาดได้มาก ในขณะที่คอมพิวเตอร์ สามารถคำนวณได้เร็วกว่า อีกทั้งยังมีความแม่นยำและมีความผิดพลาดน้อยกว่ามนุษย์กระทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงจะต้องทำงานกันเป็นหมู่คณะ หรือ ทีมเวิร์ค (teamwork)คอมพิวเตอร์ก็เช่นเดียวกัน

วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การต่อสาย LAN แบบสาย Coaxial และสาย UTP


การต่อสายของระบบ LAN จะมีสองแบบหลักๆคือ Bus และ Star ถ้าจะต่อแบบประหยัดก็ใช้แบบ Bus เพราะไม่ต้องใช้ HUB แต่ว่าหากเครื่องในระบบมากอาจจะเกิดปัญหาจุกจิกได้ เนื่องจากสายหลุด หรือสายขาดเพียงจุดใดจุดหนึ่งก็จะทำให้ระบบไม่สามารถใช้งานได้ทั้งหมด เราลองมาดูเลยว่าต่อยังไง 




ระบบ Star เมื่อสายขาด หรือ หลุดเสียหายจะมีผลกระทบกับคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้น

สาย
สายที่ใช้ในระบบ Bus จะเป็นสาย Coaxial คล้ายๆสายอากาศทีวี ส่วนสายในระบบ Star จะเป็นสาย UTP หรือเรียกแบบไทยๆว่าสายคู่ตีเกลียว จะมี 4 คู่ หรือนับทั้งหมดได้


เส้น การต่อสายในกรณีใช้กับ HUB ดังรูป จะต่อสายแบบปกติ pin ต่อ pin ไม่มีการสลับ ส่วนการต่อแบบ Cross นั้นจะกล่าวต่อไปว่าใช้เมื่อไหร่อย่างไร การต่อแบบ Bus จะวุ่นวายกว่านิดหน่อย คือจะต้องมี T-Connector และ Terminator มาวุ่นวาย การต่อ ก็จะต่อดังรูป ให้นำ T-Connector ต่อกับการ์ด LAN ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกตัวจากนั้นเครื่อง หัว-ท้าย ให้ ปิดด้วย Terminator เพื่อให่สัญญาณวนครบตลอดทั้งระบบ Bus
ต่อแบบ 2 เครื่องโดยใช้สาย UTP การต่อแบบนี้จะใช้ได้แค่ 2 เครื่องเท่านั้นไม่สามารถขยายได้อีกเลยเพราะจะต้องใช้สาย UTP แบบ Cross เท่านั้น 


สาย Cross สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์และสาย Network ทั่วไป
ต่อ Star ใช้ HUB หลายตัว การขยาย HUB เพื่อเพิ่ม Port ให้มากขึ้นกว่าเดิม จะมีการต่ออยู่สามสี่แบบคร่าวๆ ต่อไปนี้
1. HUB บางยี่ห้อมีตัวต่อพิเศษที่สามารถนำ HUB ยี่ห้อและรุ่นเดียวกันอีกตัวมาซ้อนทับได้เลยทันที
2. ถ้า HUB ที่มีหัว BNC (แบบที่ใช้ต่อสาย Coaxial) สามารถต่อเชื่อมกันด้วยสาย Coaxial จะได้ประหยัด Port 
3. ถ้า HUB ที่ไม่มีหัว BNC จะมีช่องเสียบสาย UTP อยู่ 1 Port เขียนว่า UP-LINK ให้ใช้สาย UTP แบบธรรมดา (ไม่ใช่สาย Cross) เสียบช่อง UP-LINK และไปเสียบที่ช่องธรรมดา (ไม่ใช่ช่อง UP-LINK) ของอีก HUB นึง
4. ถ้าไม่มีช่อง UP-LINK ให้ใช้สาย Cross ต่อระหว่าง Port ใด Port หนึ่งก็ได้ระหว่าง HUB สองตัว



อุปกรณ์
เนื่องจากการต่อLanมีหลายแบบและอุปกรณ์ที่ใช้ก็มีแตกต่างกันไปแต่ที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะแบบ BUS ซึ่งเป็นการต่อ Computer ทุกตัวกับ สาย Cable ตามแนวของสายCable[โดยใช้สายCoaxial] [เขาว่ากันว่าใช้ความยาวได้ถึง185 เมตร?]
ข้อดีของแบบ BUS ก็คือง่าย และ ประหยัด ทีนี้ก็เริ่มเลยครับว่าต้องใช้อะไรบ้าง
1.Lan Card เท่า จำนวนComputer ที่ต้องการต่อ จะเป็นแบบ PCI[เขาว่าเร็ว] หรือ ISAก็ได้ โดยให้มีขั้วต่อแบบ BNC ด้วย [เพราะบางCardจะมีเฉพาะRJ-45 ,บางอันมีครบ3อย่างคือมี AUI ด้วย


2. T-Connectorเท่าจำนวน Lan Card , Terminator2 อัน [ 50 ohm] สำหรับปิดเครื่องหัว-ท้าย สำหรับTerminator ถ้าฉุกเฉินจริงๆ ก็ใช้ ความต้านทาน 50 ohm1/2 wattแทนไปก่อนก็ได้ครับ 


3.สาย Coaxial RG 58 ซึ่งเป็นสาย 50 ohm [พร้อม BNC Connector ] จำนวนตามที่ต้องการต่อ [สายที่ใช้กับTV ใช้ไม่ได้นะครับ เพราะสาย TV เป็น สาย 75 ohm] ถ้าท่านพอจะมีความรู้ทางช่าง อยู่บ้าง จะซื้อสาย Coaxial กับ ขั้ว BNC มาต่อเองก็ได้ครับ 


รูปแสดงการเชื่อมโยงระหว่างCom.ที่ขั้ว BNC




ในกรณีที่เราจะใช้ขั้วต่อที่ RJ-45 Connector ต้องใช้สาย UTP[ซึ่งเป็นสาย 100 ohm] [เห็นเขาว่ากันว่าใช้ความยาวระหว่างจุดได้ถึง 100 เมตร ?] 
ความหมายแต่ละขาของRJ-45 Connector 

วิธีการนับลำดับสาย

Com.1
ลำดับสาย
Com.2
White/Orange
1
White/Green
Orange
2
Green
White/Green
3
White/Orange
Blue
4
Blue
White/Blue
5
White/Blue
Green
6
Orange
White/Brown
7
White/Brown
Brown
8
Brown

สรุปคือ Cross สาย 1-3 , 2-6 ,3-1 & 6-2 ส่วนขาอื่นเหมือนเดิม
[2] ต่อจาก Computer ไปยัง HUB

Com.
ลำดับสาย
Hub
White/Orange
1
White/Orange
Orange
2
Orange
White/Green
3
White/Green
Blue
4
Blue
White/Blue
5
White/Blue
Green
6
Green
White/Brown
7
White/Brown
Brown
8
Brown

สรุปไม่ต้อง Cross สายเลย
[หมายเหตุกรณีที่เราต่อใช้ที่ ขั้ว RJ-45 Connector ที่ขั้ว BNC -Connectorก็จะปล่อยว่างไว้ไม่ต้อง ใส่T-Connectorไว้




การตรวจสอบระบบเครือข่าย TCP/IP Protocol
1. Click ขวา ที่ My Computer เลือก Properties ---> Device Manager 


ดูว่า Lan Card ที่เราติดตั้ง มีเครื่องหมาย ! อยู่ข้างหน้าหรือเปล่า ถ้า มี ให้ Remove แล้ว Setupใหม่
2. ที่ MS-DOS Prompt ใช้คำสั่ง winipcfg , ping เพื่อดูข้อมูล และปัญหาการติดต่อระหว่างเครื่อง



winipcfg จะทำให้เราทราบข้อมูลต่างๆ ในระบบ เช่น IP Address , Subnet Mask 




การ Ping IP Address ของตัวเอง[ในที่นี้คือ 192.168.0.1] ถ้าไม่มีการตอบกลับ อาจมีปัญหาเกี่ยวกับ Network Card เช่น IRQ , IO Address


การ Ping IP Address ของเครื่องอื่น[เช่น 192.168.0.3] ถ้าไม่มีการตอบกลับ แสดงว่า เครื่อง 192.168.0.3 เสีย หรือ ปิดอยู่


ถ้ามีการตอบกลับก็แสดงว่าปกติ


หรือกรณีอาจมีปัญหากับ สายCable หรือ ขั้ว BNC หลวม คำสั่งที่ใช้ในการตรวจสอบ ความจริงแล้วมีมากกว่านี้ [ดูข้างล่าง] แต่เท่าที่ผมทราบและใช้อยู่มีเท่านี้ครับ















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น