จุดประสงค์ของการประดิษฐ์คอมในสมัยแรกนั้น เพื่อจะให้คอมพิวเตอร์ทำงานบางอย่างแทนมนุษย์ เช่น การคำนวณเลข ซึ่งถ้าเป็นตัวเลขจำนวนมากๆ มนุษย์จะใช้เวลาในการคำนวณมากและมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาดได้มาก ในขณะที่คอมพิวเตอร์ สามารถคำนวณได้เร็วกว่า อีกทั้งยังมีความแม่นยำและมีความผิดพลาดน้อยกว่ามนุษย์กระทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงจะต้องทำงานกันเป็นหมู่คณะ หรือ ทีมเวิร์ค (teamwork)คอมพิวเตอร์ก็เช่นเดียวกัน

วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์ Peer-to-Peer Network


        เครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์ (Peer-to-Peer Network) เครือข่ายประเภทนี้จะไม่มีเครื่องเซิร์ฟเวอร์ และไม่มีการแบ่งชั้นความสำคัญของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเข้ากับเครือข่าย คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะมีสิทธิเท่าเทียมกันในการจักการใช้เครือข่าย ซึ่งเรียกว่า เพียร์(Peer) นั่นเอง คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะทำหน้าที่เป็นทั้งไคลเอนท์และเซิร์ฟเวอร์แล้วแต่การใช้งานของผู้ใช้ เครือข่ายประเภทนี้ ไม่จำเป็นต้องมีผู้ดูแลและจัดการระบบ หน้าที่นี้จะกระจายไปยังผู้ใช้แต่ละคน เนื่องจากผู้ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะเป็นคนกำหนดว่าข้อมูลหรือทรัพยากรใดบ้างของเครื่องนั้นที่ต้องการแชร์กับผู้ใช้คนอื่นๆ



        การใช้งานแบบเพียร์ทูเพียร์ บางที่ก็เรียกว่า "เวิร์คกรุ๊ป (Work group)" หรือกลุ่มของคนที่ทำงานร่วมกันเป็นทีม ซึ่งส่วนมากจะมีจำนวนน้อยกว่าสิบคน เครือข่ายประเภทนี้จะเป็นแบบง่ายๆ ไม่ซับซ้อนมากเนื่องจากคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทำหน้าที่เป็นทั้งไคลเอนท์และเซิร์ฟเวอร์ ฉะนั้นจึงไม่จำเป็นที่ต้องมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์เพราะต้องมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่มีราคาแพงทำหน้าที่จัดการเครือข่าย
        ระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์นี้ไม่จำเป็นต้องเป็นซอฟต์แวร์ที่มีฟังก์ชัน และระบบรักษาความปลอดภัยเท่ากับระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เช่น ระบบปฏิบัติการที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์ อาจจะใช้แค่วินโดวส์ 95/98/Me ในขณะที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์อาจต้องใช้วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2002/2003 ซึ่งราคาของระบบปฏิบัติการนี้จะแพงกว่ากันมาก
      เครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์เหมาะสำหรับสภาแวดล้อมดังต่อไปนี้

วันพุธที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ประเภทของเครือข่ายแบ่งตามหน้าที่คอมพิวเตอร์

         การจำแนกประเภทของเครือข่ายยังสามารถจำแนกได้โดยใช้ลักษณะการแชร์ข้อมูลของคอมพิวเตอร์ หรือหน้าที่ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องเกณฑ์ในการแบ่งประเภทของเครือข่าย ซึ่งเมื่อใช้หลักการนี้แล้วเราสามารถแบ่งเครือข่ายได้เป็น 2 ประเภท


  • เครือข่ายแบบเท่าเทียม (Peer-to-peer network)
  • เครือข่ายแบบผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ (client/server Network)
หน้าที่เครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายยังแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

  • เซิร์ฟเวอร์ (Server) คือคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้บริการต่างๆ ให้แก่คอมพิวเตอร์เครื่องอื่น
  • ไคลเอนท์ (Client) คือคอมพิวเตอร์ที่เข้าไปใช้บริการต่างๆ ของเซิร์ฟเวอร์

        โดยปกติเมื่อมีคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องถูกเชื่อมต่อเข้ากันกับเครือข่ายแล้วมักจะมีคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งเป็น "เซิร์ฟเวอร์" ซึ่งจะทำหน้าที่ให้บริการต่างๆ เช่น เป็นศูนย์กลางในการจัดเก็บข้อมูล ไฟล์ หรือ โปรแกรมต่างๆ นอกจากนี้ยังทำหน่าที่จัดการเกี่ยวกับทรัพยากรที่อยู่ในระบบเคือข่าย เช่น เครื่องพิมพ์, CD-ROM เป็นต้น ซึ่งการใช้ทรัพยากรเหล่านี้ร่วมกันทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในอุปกรณ์เหล่านี้ได้ ส่วนบริการแก่ผู้ใช้หลายๆ คนจำเป็นต้องเป็นเครื่อที่มีประสิทธิภาพดีพอ ดังนั้นเครื่องที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ปกติจะมีราคาแพงกว่าเครื่องไคลเอนท์ทั่วไป

      ในระบบเครือข่ายขนาดเล็กที่มีคอมพิวเตอร์จำนวนไม่กี่เครื่อง ไม่จำเป็นต้องมีคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์อย่างเดียวเสมอไป การสื่อสารอาจเป็นไปในรูปแบบเพียร์ทูเพียร์ หรือคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องทำหน่าที่เป็นทั้งเซิร์ฟเวอร์และไคลเอนท์ในเวลาเดียวกัน ตำว่า "Peer" แปลงว่าเท่าเทียมกัน ดังน้้น เครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์นี้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะทำหน้าที่คล้ายกัน คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายแบบนี้ยังคงสามารถที่จะรับส่งข้อมูลถึงกันและกันได้ สามารถถ่ายโอนไฟล์ไปยังฮาร์ดดิสก์ของอีกเครื่องหนึ่งได้ หรือแม้แต่ใช้เครื่องพิมพ์ร่วมกันได้ อย่างไรก็ตามเมื่อเครือข่ายมีการขยายใหญ่ขึ้น การมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์จะมีความสะดวกต่อการจัดระบบเครือข่าย เช่น การจัดการพื้นที่เก็บข้อมูล การควบคุมการใช้เครื่องพิมพ์ และการอัพเกรดโปรแกรมต่างๆ เป็นต้น
      เครือข่ายทั่งสองประเภทคือ เครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์ และเครือข่ายแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์นั้นมีข้อดีข้อเสียงที่แตกต่างกัน ซึ่งการเลือกใช้จะขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานของเครือข่าย สิ่งที่ต้องพิจารณามีดังนี้
  • จำนวนผู้ใช้ หรือจำนวนคอมพิวเตอร์
  • การรักษาตความปลอดภัยของข้อมูล
  • การดูแลและจัดการระบบ
  • ปริมาณข้อมูลที่รับส่งผ่านเครือข่า
  • ความต้องการใช้ทรัพยากรเครือข่ายของผู้ใช้งานแต่ละคน
  • งบประมาณ


วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เครือข่ายบิเวณกว้าง Wide Area Network

          

                  เครือข่ายบิเวณกว้าง (Wide Area Network) เป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมพื้นที่บริเวณกว้าง หรืออาจจะครอบคลุมทั่วโลกก็ได้ ตัวอย่างเช่น เครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เรารู้จักกันดี WAN จะใช้สำหรับการเชื่อมต่อระหว่าง LAN ที่อยู่ห่างไกลกัน เช่น การเชื่อมต่อเครือข่ายของสำนักงานย่อยที่อยู่ห่างไกลกัน เป็นต้น
          LAN เป็นเทคโนโลยีสำหรับการเชื่อมต่อเครือข่ายภายในอาคาร หรือพื้นที่ที่มีรัศมีประมาณ
 2-3กิโลเมตร ส่วน WAN เป็นเครือข่ายที่ใช้สำหรับการเชื่อมต่อระยะไกล เช่น เครือข่ายภายในหรือระหว่างเมือง หรือแม้กระทั่งการเชื่่อมต่อระหว่างประเทศทั่วโลก เทคโนโลยีที่จัดอยู่ในประเภท WAN เช่น รีโมทแอ็กเซสส์ (Remote Access), สายคู่เช่า (Leased Line), ISDN (Integrated Service Digital Network), ADSL (Asynchronous Digital Subscribe Line), Frame Relay และระบบดาวเทียม เป็นต้น
           รีโมทแอ็กเซสส์เป็นเครือข่ายที่ใช้ระบบโทรศัพท์เป็นสื่อ (Dial up) ที่ให้ผู้ใช้ที่อยู่ห่างไกลสามารถเชื่อมต่อเข้ากับศูนย์กลางเครือข่ายได้ การเชื่อมต่อเครือข่ายเข้ากับระบบอินเตอร์เน็ตก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของรีโมทแอ็กเซสส์ กล่าวคือผู้ใช้สามารถที่จะเข้าถึงอินเตอร์เน็ตโดยการเชื่อมต่อเข้ากับโมเด็มหมุนไปที่ ISP (Internet service provider) เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตได้ ผู้ใช้หลายๆคนที่อยู่บนเครือข่ายท้องถิ้นสามารถต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต โดยผ่านเราท์เตอร์ โดยทั่วไปเครือข่าย LAN มีอัตราการส่งข้อมูลที่สูงกว่าเครือข่าย WAN ตัวอย่างเช่น อิเธอร์เน็ต มีอัตราการส่งข้อมูลที่ 10 Mbps ใยขณะที่ความเร็วสูงสุดของโมเด็มในปัจจุบันที่ 56 Kbps ซึ้งน้อยกว่าหนึ่งเปอร์เซ็นต์ของแบนวิธของอิเธอร์เน็ต แม้กระทั่งการเชื่อมต่อแบบ T-1 ยังมีอัตราข้อมูลแค่ 1.5 Mbps อย่างไรก็ตามโดยธรรมชาติของการสื่อสารข้อมูลส่วนใหญ่จะอยู่ภายในเครือข่ายท้องถิ่น

ATM

 


 ATM ย่อมาจาก "Asynchronous Transfer Mode" ไม่ได้หมายถึงตู่ ATM (Automatic Teller Machine) ที่เราใช้ถอนเงินสดจากธนาคาร แต่บางตู้ ATM ที่เราใช้ถอนเงินสดอาจจะเชื่อมต่อกับศูนย์กลางด้วยระบบเครือข่ายแบบ ATM ก็ได้ ATM เป็นมาตรฐานการรับส่งข้อมูลที่กำหนดโดย ITU-T (International Telecommunication Union- Telecommunication Standard Sector) ซึ้งจะรวมบริการต่างๆ เช่น ข้อมูล แต่ Mbps จนถึง Gbps   ปัจจุบันยังทมีการใช้งาน ATM ไม่มากเท่ากับอิเธอร์เน็ต แต่มีแนวโน้มว่า ATM อาจจะเป็นอีกทางเลือกอย่างหนึ่งที่นิยมในเครือข่ายในอนาคตก็ได้

โทเคนริง Token Ring

           

              เครือข่ายแบบโทเคนริง (Token Ring) ซึ่งจะมีลักษณะการเชื่อมต่อแบบวงแหวนนี้ ถือได้ว่าเป็นเครือข่ายที่กำลังล้าสมัยเพราะมีการใช้น้อยลง ไทเคนริงนิยมมากในการสร้างเครือข่ายสมัยแรกๆ เนื่องจากข้อดีของการส่งข้อมูลในเครือข่ายแบบนี้จะไม่มีการชนกันของข้อมูล เหมือนกับเครือข่ายแบบอีเธอร์เน็ต แต่ข้อเสียงของเครือข่ายประเภทนี้จะอยู่ที่ความสามารถในการขยายเครือข่าย (Scalability) และการบริหารและจัดการเครือข่ายจะค่อยข้างอยกเครือข่ายประเภทนี้ยังมีใช้อยู่กับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ของบริษัท IBM ที่เป็นระบบเมนเฟรมและมินิคอมพิวเตอร์

วันเสาร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

อีเธอร์เน็ต Ethernet

     
   

 อีเธอร์เน็ต (Ethernet) ได้ถูกคิดค้นขึ้นตั้งแต่ทศวรรษ 1970 และยังคงเป็นเทคโนโลยีชั้นนำของเครือข่ายท้องถิ่น อีเธอร์เน็ตตั้งอยู่บนมาตรฐานการส่งข้อมูลหรือโปรโตคอล CSMA/CD (Carrier Sense Multiple Access With Collision Detection) โปรโตคอลนี้ถูกใช้สำหรับการเข้าใช้สื่อสารกลางในการส่งสัญญาณที่แชร์กันระหว่างสถานีหรือโหนต่างๆ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้ เมื่อโหนดใดๆ ต้องการที่จะส่งข้อมูลจะต้องคอยฟังก่อน (Carrier Sense) ว่าโหนดอื่นกำลังส่งข้อมูลอยู่หรือไม่ ถ้ามีให้รอจนกว่าเครื่องนั้นจะส่งเสร็จก่อน แล้วค่อยเริ่มส่งข้อมูล และในขณะที่กำลังส่งข้อมูลอยู่นั้นต้องตรวจสอบว่ามีการชนกันของข้อมูลเกิดขึ้นหรือไม่ (Collision Detection) ถ้ามีการชนกันของข้อมูลเกิดขึ้นให้อยู่ทำการส่งข้อมูลทันที แล้วค่อยเริ่มกระบวนการส่งข้อมูลใหม่อีกครั้งในขณะเดี่ยวกันในขณะหนึ่ง การชนกันของข้อมูลเกิดขึ้นเนื่องจากอีเธอร์เน็ตจะใช้สื่อการรวมกัน ซึ่งเรียกว่า "บัส (Bus)" ฉะนั้นจึงมีโหนดที่ส่งข้อมูลได้แค่โหนดเดียวในขณะใดขณะหนึ่ง การชนกันของข้อมูลจะกลายเป็นขยะหรืออ่านไม่ได้ทันที่ เมื่อจำนวนโหนดเพิ่มมากขึ้นความน่าจะเป็น
ที่ข้อมูลจะชนกันก็เพิ่มขึ้นตามลำดับ
          ตามมาตรฐานแล้วอีเธอร์เน็ตจะมีอัตราการส่งข้อมูลหรือแบนด์วิธที่ 10 Mbps
 (สิบล้านบิตต่อวินาที) ในขณะที่ฟาสต์อีเธอร์เน็ต (Fast Ethernet) มีการคล้ายๆ กันเพียงแต่มีอัตราข้อมูลที่สูงกว่า 10 เท่า หรือ 100 Mbps ส่วนกิกะบิตอีเธอร์เน็ต (Gigabit Ethernet) มีอัตราข้อมูลสูงสุดคือ 1,000 Mbps หรือ 1 Gbps และในขณะที่กำลังเขียนหนังสือเล่มนี้กำลังมีการพัฒนาอิเธอร์เน็ตที่ความเร็ว 10 Gbps ซึ้งเรียกว่า เทนกิกะบิตอิเธอร์เน็ต (10G Ethernet) 
         นอกจากข้อแตกต่างในเรื่องของความเร็วแล้ว อีเธอร์เน็ตยังแบ่งย่อยออกเป็นแชร์อิเธอร์เน็ต (Shared Ethernet) และสวิตซ์อีเธอร์เน็ต (Switched Ethernet) โดยแชร์อิเธอร์เน็ตมีการใช้ตัวกลางร่วมกันคล้ายๆ กับถนนี่มีเลนเดียว ดังนั้นจึงมีรถวิ่งบนถนนได้แค่คันเดียวในขณะใดขณะหนึ่ง ในความหมายเครือข่ายก็คือ ในขณะใดขณะหนึ่งจะมีแค่สถานีเดี่ยวที่สามารถส่งข้อมูลได้ อุปกรณ์เครือข่ายทีใช้สำหรับแชร์อิเธอร์เน็ตคือ ฮับ (Hub) ส่วนสวิตช์อิเธอร์เน็ต (Switched Ethernet) จะเปรียบได้กับถนนที่มีหลายเลน ดังนั้นจึงมีรถหลายคันที่สามารถวิ่งบนถนนได้ในเวลาเดียวกัน ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้ในสวิตซ์อิเธอร์เน็ตก็คงเป็นสวิตช์นั่นเอง

       

วันศุกร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เครือข่ายถ้องถิ่น Local Area Network

        เครือข่ายถ้องถิ่น (Local Area Network) เป็นรากฐานเครือข่ายคอมพิวเตอร์ท้่วไป กล่าวคือ เกือบทุกๆ เครือข่ายต้องมี LAN เป็นองค์ประกอบ เครือข่าย LAN อาจเป็นได้ตั้งแต่เครือข่ายแบบง่ายๆ เช่น มีคอมพิวเตอร์สองเครื่องเชื่อมต่อกันด้วยสายสัญญาณไปจนถึงเครือข่ายที่ซับซ้อน เช่น มีคอมพิวเตอร์เป็นร้อยๆเครื่องและมีอุปกรณ์เครือข่ายอื่นๆ อีกมาก แต่ลักษณะสำคัญของเครือข่าย LAN ก็คือ เครือข่ายจะครอบคลุมพื้นที่จำกัด


     เทคโนโลยี LAN มีหลายประเภท เช่น Ethernet, ATM, Token Ring, FDDI เป็นต้น แต่ที่นิยมกันมากที่สุดในปัจจุบันคือ อิเธอร์เน็ต (Ethernet) ซึ่งในอิเธอร์เน็ตเองยังจำแนกออกได้หลายประเภทมีทั้งข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน การเลือกใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ควรให้เหมาะกับลักษณะการใช้งานเครือข่ายขององค์กร

วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ประเภทของเครือข่ายแบ่งตามขนาดทางภูมิศาสตร์


 ถ้าใช้ขนาดทางกายภาพเป็นเกณฑ์ เครือข่ายสามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภทคือ LAN หรือเครือข่ายท้องถิ่นและ WAN หรือเครือข่ายบริเวณกว้าง LAN เป็นเครือข่ายขนาดเล็กที่ครอบคลุมพื้นที่บริเวณจำกัด เช่น ภายในห้อง หรือ ภายในอาคารหนึ่ง หรืออาจจะครอบคลุมหลายอาคารที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน เช่น ในเขตวิทยาลัย ซึ่งบางที่เรียกว่าเครือข่าย "วิทยาเขต (Campus Network) " จำนวนของคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อกันใน LAN อาจมีตั้งแต่สองเครื่องไปจนถึงหลายพันเครื่อง ส่วน WAN เป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมบริเวณกว้าง เข่น ในพื้นเมื่อง หรืออาจจะครอบคลุมทั่วโลกก็ได้
เช่น เครือข่ายอินเตอร์เน็ต
   เว็บบางเว็บอาจจะแบ่งเครือข่ายเป็น LAN, MAN, WAN ซึ่ง MAN(Metropolitan Area Network) เป็นเครือข่ายขนาดกลางระหว่าง LAN และ MAN และครอบคลุมพื้นที่เมือง ในช่วงหลังๆ เทคโนโลยีที่ใช้ใน MAN เป็นเทคโนโลยีเดียวกับเทคโนโลยี WAN ดังนั้นจึงจัดให้ MAN เป็นเครือข่ายประเภทเดียวกับ WAN

การจำแนกประเภทเครือข่าย

      

เครือข่ายสามารถจำแนกออกได้หลายประเภทแล้วแต่เกณฑ์ที่ใช้ คล้ายกับการจำแนกประเภทของรถยนต์ ถ้าใช้ขนาดเป็นเกณฑ์ ก็จะแบ่งได้เป็นรถยนต์ขนาดเล็ก รถสิบล้อ รถไฟ เป็นต้น หรือถ้าใช้ลักษณะการใช้งานเป็นเกณฑ์ก็จะแบ่งได้เป็นรถโดสาร รถบรรทุกสินค้า รถส่วนบุคคล เป็นต้น เครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็เช่นกัน สามารถจำแนกได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ เช่น ขนาด ลักษณะการแลกเปลี่ยนข้อมูลของคอมพิวเตอร์ เป็นต้น โดยทั่วไปการจำแนกประเภทของเครือข่ายมีอยู่ 3 วิธีคือ


  1. ใช้ขนาดทางกายภาพของเครือข่ายเป็นเกณฑ์ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
  • LAN (Local Area Network) : หรือเครือข่ายท้องถิ่น
  • WAN (Wide Area Network) : หรือเครือข่ายบริเวณกว้าง

     2. ใช้ลักษณะหน้าที่การทำงานของคองพิวเตอร์ในเครือข่ายเป็นเกณฑ์ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทดังนี้

  • peer-to-peer Network หรือเครือข่ายแบบเท่าเทียม
  • client-server Network หรือเครือข่ายแบบผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ
     3. ใช้ระดับความปลอดภัยของข้อมูลเป็นเกณฑ์ สามารถแบ่งออกได้ดังนี้คือ

  • Intranet หรือเครือข่ายส่วนบุคคลด
  • Internet หรือเครือข่ายสาธารณะ
  • Extranet หรือเครือข่ายร่วม

วันพุธที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ระบบปฏิบัติการเครือข่าย


   ระบบปฏิบัติการเครือข่าย หรือ OS (Operating System) ทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับการเข้าใช้ทรัพยากรต่างของโปรแกรมที่รันบนคอมพิวเตอร์ เช่น หน่วยคำจำ ฮาร์ดดิสก์ จอภาพ คีย์บอร์ด เมาส์ เป็นต้น ถ้าไม่มีระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ก็จะรันโปรแกรมต่างๆไม่ได้ ระบบเครือข่ายก็เช่นกัน จำเป็นต้องมีระบบปฏิบัติการเครือข่าย หรือ NOS (Network Operating System) เพื่อทำหน้าที่จัดเก็บเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูลผ่านทางเครือข่ายและการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในเครือข่าย เช่น เครื่องพิมพ์ ฮาร์ดดิสก์
 ฐานข้อมูล เป็นต้น คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายจำเป็นต้องมีระบบปฏิบัติการทั้งสองประเภท เพื่อที่จะทำหน้าที่จัดการภายในคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่าย 

     ระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่ใช้ในปัจจุบันส่วนมากจะรองรับการใช้งานเครือข่ายอยู่แล้ว แต่อาจต้องติดตั้งโปรแกรมบางอย่างเพื่อให้สามารถใช้งานเครือข่ายได้ ในสภาพแวดล้อมของเครือข่าย เซิร์ฟเวอร์ทำหน้าที่ให้บริการกับไคลเอนท์ ส่วนไคเอนท์ทำหน้าที่ติดต้องใช้บริการเหล่านั้นให้สามารถใช้ได้เสมือนเป็นทรัพยากรของเครื่องไคลเอนท์เอง ระบบปฏิบัติการที่ออกแบบสำหรับทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ เช่น Netware 6.5, Windows Server 2003, Sun Solaris และ Linux เป็นต้น 

วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

โปรโตคอล Protocol



โปรโตคอล (Protocol) เป็นมาตรฐานการสื่อสารข้อมูลของคอมพิวเตอร์ หรืออาจกล่าวได้ว่าโปรโตคอลเป็น ภาษา ที่คอมพิวเตอร์ใช้สื่อสารกัน ดังนั้นคอมพิวเตอร์ที่ต้องการสื่อสารจำเป็นที่ต้องใช้ ภาษา หรือโปรโตคอลเดียวกัน เพราะไม่เช่นนั้นคอมพิวเตอร์ก็จะสื่อสารกันไม่ได้ ปัจจุบันโปรโตคอลที่นิยมใช้กันมากที่สุดคือโปรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)

ซึ้งเป็นโปรโตคอลที่ใช้ในระบบอินเตอร์เน็ตซึ้งเป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก นอกจากโปรโตคอลนี้แล้วยังมีโปรโตคอลอื่นๆ ที่นิยมใช้กันอยู่ เช่น
โปรโตคอล IPX/SPX(Internet Packet Exchange/Sequenced Packet Exchange) ซึ่งเป็นโปรโตคอลที่พัฒนาโดยบริษัทโนเวลล์ สำหรับใช้กับระบบปฏิบัติการเน็ตแวร์ (Netware)

เราท์เตอร์ Router

     เราท์เตอร์ (Router)  เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในเลเยอร์ 3 หรือเลอเยอร์เครือข่าย เราท์เตอร์จะฉลาดกว่าฮับและสวิตซ์ เราท์เตอร์จะอ่านที่อยู่ (Address) ขอสถานีปลายทางที่ส่วนหัว (Header) ของแพ็กเก็ตข้อมูล เพื่อใช้ในการกำหนดหรือเลือกเส้นทางที่จะส่งแพ็กเก็ตนั้นต่อไป ในเราท์เตอร์จะมีข้อมูลเกี่ยวกับการจัดเส้นทางให้แพ็กเก็ตเรียกว่า "เราติ้งเทเบิ้ล (Routing table)" หรือตารางการจัดเส้นทาง ข้อมู,ในตารางนี้จะเป็นข้อมูลที่เราท์เตอร์ใช้ในการเลือกเส้นทางที่ดีที่สุดไปยังปลายทาง ถ้าเส้นทางหลักเกินขัดข้อง เราท์เตอร์ก็สามารถเลือกเส้นทางใหม่ได้


          นอกจากนี้เราท์เตอร์ยังสามารถส่งข้อมูลไปยังเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอนต่างกันได้ โปรโตคอลที่ทำหน้าที่ในเลเยอร์ที่ 3 เช่น IP (Internet protocol), IPX (Internet Package Exchange) และ Apple Talk เป็นต้น นอกจากนี้เราเตอร์ยังสามารถเขื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล (WAN) ได้ และยังสามารถเชื่อมต่อ
เครือข่ายเข้ากับเครือข่ายอื่นๆ ที่ใหญ่กว่า เช่น เครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นต้น



วันอาทิตย์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

สวิตซ์ (Switch)

        

   สวิตซ์ (Switch) คืออุปกรณ์เครือข่ายที่ทำหน้าที่ในเลเยอร์ที่ 2 สวิตซ์จะฉลาดกว่าฮับคือ
สวิตซ์สามารถส่งข้อมูลที่ได้รับมาจากพอร์ตหนึ่งไปยังเฉพาะพอร์ตปลายทางเท่านั้นทำให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับพอร์ตที่เหลือสามารถส่งข็อมูลถึงกันละกันได้ในเวลาเดียวกัน การทำเช่นนี้ทำให้อัตราการรับส่งข้อมูลหรือแบนด์วิธไม่ขึ้นอยู่กับจำนวนคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับสวิตซ์ คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะมีแบนด์วิธเท่ากับสวิตซ์ เนื่องจากคุณสมบัตินี้เครือข่ายที่ติดตั้งใหม่ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะนิยมใข้สวิตซ์มากกว่าฮับ เพราะจะไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการชนกันของข้อมูลในเครือข่าย

ฮับ (Hub)

  

 ฮับ (Hub) หรือบางที่ก็เรียกว่า "รีพีทเตอร์ (Re[eater)" คืออุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกลุ่มของคอมพิวเตอร์ฮับมีหน้าที่รับส่งเฟรมข้อมูลทุกเฟรมที่ได้รับจากพอร์ตใดพอร์ตหนึ่ง ไปยังทุกๆ พอร์ตที่เหลือ คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับฮับจะแชร์แบนด์วิธหรืออัตราข้อมูลของเครือข่าย ฉะนั้นยิ่งมีคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อเข้ากับฮับมากเท่าใด ยิ่งทำให้แบนด์วิธต่อคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องลดลง ในท้องตลาดปัจจุบันมีฮับหลายชนิดจากหลายบริษัท ข้อแตกต่างระหว่างฮับเหล่านี้ก็เป็นจำนวนพอร์ต สายสัญญาณที่ใช้ ประเภทของเครือข่าย และอัตราข้อมูลที่ฮับรองรับได้


อุปกรณ์เรือข่าย

        อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบเครือข่ายทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับการรับส่งข้อมูลในเครือข่าย หรือใช้สำหรับทวนสัญญาณเพื่อให้การส่งข้อมูลได้ในระยะที่ไกลขึ้น หรือใช้สำหรับขยายเครือข่ายให้มีขนาดใหญ่ขึ้นอุปกรณ์เครือข่ายที่พบเห็นโดยทั่วไป เช่น ฮับ สวิตช์ เราท์เตอร์ เป็นต้น




วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การต่อสาย LAN แบบสาย Coaxial และสาย UTP


การต่อสายของระบบ LAN จะมีสองแบบหลักๆคือ Bus และ Star ถ้าจะต่อแบบประหยัดก็ใช้แบบ Bus เพราะไม่ต้องใช้ HUB แต่ว่าหากเครื่องในระบบมากอาจจะเกิดปัญหาจุกจิกได้ เนื่องจากสายหลุด หรือสายขาดเพียงจุดใดจุดหนึ่งก็จะทำให้ระบบไม่สามารถใช้งานได้ทั้งหมด เราลองมาดูเลยว่าต่อยังไง 

สายใยแก้วนำแสง fiber optics

   

สายใยแก้วนำแส หรือสายไฟเบอร์ (fiber optics) เป็นสายที่ใช้แสงเป็นสัญญาณ และแก้วหรือพลาสติกใสเป็นสื่อนำสัญญาณ ในขณะที่สายคู่บิดเกลียวและสายโคแอ็กเชียลใช้สัญญาณไฟฟ้าและโลหะเป็นสื่อ ข้อเสียงของสายสัญญาณประเภทโลหะคือ จะถูกรบกวนได้จากแหล่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต่างๆ ได้ง่าย
เช่น ฟ้าผ่า มอเตอร์ไฟฟ้า เป็นต้น แต่สายใยแก้วนำแสงใช้สัญญาณแสง ดังนั้นจึงไม่ถูกรบกวนโดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จึงทำให้สายใยแก้วนำแสงสามารถส่งข้อมูลในอัตราที่สูงและระยะทางไกลกว่า แต่การผลิต การติดตั้งและการดูแลรักษาจะอยากกว่าและราคาแพงกว่าสายที่เป็นโลหะ
ดังนั้นสายใยแก้วนำแสงจึงเหมาะสำหรับลิงค์ที่ต้องการแบนด์วิธสู.และมีความเชื่อถือได้สูง และสำหรับการส่งข้อมูลระยะไกล เช่น ลิงค์หลัก (Backbone) ของระบบเครือข่าย

สายโคแอ็กเชียล (Coaxial Cable)

          
สายโคแอ็กเชียล(Coaxial Cable)  มีลักษณะคล้ายกับสายเคเบิลทีวีคือ มีแกนกลางเป็นทองแดง
ห่มหุ้มด้วนฉนวน แล้วหุ้มด้วยตาข่ายโลหะ ชั้นนอกสุดเป็นวัสดุป้องกันสายสัญญาณ สายประเภทนี้นิยมใช้มากในเครือข่ายสมัยแรกๆ แต่ปัจจุบันไม่มียมใช้แล้ว เปลียนไปใช้สายคู้บิดเกลียวแทน

สายคู่บิดเกลียว (Twisted pairs)




    สายคู่บิดเกลียว (Twisted pairs) เป็นสายสัญญาณมาตรฐานที่นิยมใช้กันมากที่สุดในระบบเครือข่าย
ปัจจุบัน สายสัญญาณจะประกอบด้วยสายทองแดงที่ห่อหุ้มด้วยฉนวน 2 เส้นแล้วบิดเป็นเกลียว เหตุที่บิดเป็นเกลียวก็เพื่อลดสัญญาณลดกวนนั่นเอง สายสัญญาณนี้ยังแบ่งย่อยออกเป็นหลายประเภท ซึ่งแบ่งตามคุณภาพของสาย ที่เราคุ้นเคยกันมากที่สุดคือสายโทรศัพท์ที่ใช้โดยทั่วไป ซึ่งจะมีสายทองแดงทั้งหมด 2 คู่ ส่วนหัวที่ใช้ต่อสายนั้นเรียกว่า หัว RJ-11 ส่วนสายคู่บิดเกลียวที่นิยมใช้ในระบบเครือข่ายแบบอีเธอร์เน็ต คือสาย UTP (Unshielded Twisted pairs) ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายสายสัญญาณโทรศัพท์ แต่คุณภาพดีกว่า โดยมีสายทองแดงทั้งหมด 4 คู่ ส่วนหัวเชื่อต่อจะเรียกว่าหัวต่อ RJ-45 


สายสัญญาณ

ปัจจุบันมีสายสัญญาณที่ใช้เป็นมาตราฐานในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์อยู่ 3 ประเภทคือ
สายสัญญาณแต่ละประเภทมีทั้งข้อดีละข้อเสียงแตกต่างกันไป และเหาะกับการใช้างานในรูปแบบที่แตกต่างกัน ซึ่งการเลือกใช้สายสัญญาณเหล่านี้จะขึ้นอยู่กับประเภทและแบนด์วิธของเครือข่าย รวมทั้งงบประมาณด้วย




เน็ตเวิร์การ์ด


เน็ตเวิร์คการ์ดเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่าย  ส่วนใหญ่จะเรียกว่า NIC
(Network Interface Card) หรือบางที่ก็เรียกว่า LAN การ์ด (LAN Card) อุปกรณ์นี้จะทำหน้าที่แปลงข้อมูลออกแบบให้ใช้กับเครือข่ายประเภทต่างๆ เช่น อีเธอร์เน็ตการ์ด โทเคนริงการ์ด เป็นต้น การ์ดแต่ละประเภท อาจใช้ได้กับสายสัญญาณบางชนิดเท่านั้น หรืออาจใช้ได้กับสัญญาณหลายชนิด
เน็ตเวิร์คการ์ดจะติดตั้งกับคอมพิวเตอร์โดยเสียบเข้ากับช่องบนเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์ ส่วนมากคอมพิวเตอร์ที่ผลิตในปัจจุบันจะมีเฉพาะช่อง PCI ซึ้งจะใช้บัสขนาด 32 บิต อย่างไรก็ตามยังมีคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าที่ยังมีช่องแบบ ISA อยู่ ซึ้งมีบัสขนาด 16 บิต การ์ดที่เป็นแบบ ISA จะประมวลผลข้อมูลช้ากว่าแบบPCI
   


LAN card ISA
LAN card PCI





    อัตราข้อมูลที่สามารถส่งผ่านได้มีหลายระดับ เช่น 10 Mbps. 100 Mbps หรือ 1,000 Mbps บางการ์ดอาจทำงานได้ที่ความเร็วเดียว ส่วนบางการ์ดอาจสามารถทำงานได้หลานระดับความเร็ว เช่น การ์ดที่ระบุว่าเป็นแบบ 10/100 Mbps หมายความว่าการ์ดนี้ใช้ได้กับเครือข่ายที่มีความเร็วทั้ง 10 Mbps  และ 100 Mbps การเลือกอันตราข้อมูลขึ้นอยู่กับฮับหรือสวิตช์ ที่คอมพิวเตอร์เครื่องนี้ต้องเชื่อมต่อเข้า อย่างไรก็ตามการเลือกชนิดของการ์ดขึ้นอยู่กับงบประมาณและประเภทของเครือข่าย การเลือกควรเผื่อไว้สำหรับการขยายและการอัพเกรดเครือข่ายในอนาคตด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

องค์ประกอบพื้นฐานของเครือข่าย



การที่คอมพิวเตอร์จะเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายได้ ต้องมีองค์ประกอบพื้นฐานดังต่อไปนี้

  • คอมพิวเตอร์อย่างน้อย 2 เครื่อง
  • เน็คเวิร์คการ์ด หรือ NIC (Network Interface Card) เป็นการ์ดที่เสียบเข้ากับช่องเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์และเครือข่าย
  • สื่อกลางและอุปกรณ์สำหรับการรับส่งข้อมูล เช่น สายสัญญาณ สายสัญญาณที่นิยมในเครือข่าย เช่น สายคู้เกลียวบิด และสายใยแก้วนำแสง เป็นต้น ส่วนอุปกรณ์ เครือข่าย เช่น ฮับ สวิตซ์          เราท์เตอร์  เกตเวย์ เป็นต้น
  • โปรโตคอล (Protocol) โปรโตคอลเป็นภาษาที่คอมพิวเตอร์ใช้สื่อสารกันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่สามารถสื่อสารกันได้นั้นจำเป็นที่ต้องใช้ ภาษา หรือโปรโตคอลเดียวกัน            เช่น OSI, TCP/IP, IPX/SPX เป็นต้น
  • ระบบปฏิบัติการเครือข่าย หรือ NOS (Network Operating System) ระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะเป็นตัวที่คอยจัดการเกี่ยวกับการใช้งานเครือข่ายของผู้ใช้งานแต่ละคน หรือเป็นตัวจัดการและควบคุมการใช้ทรัพยากรต่างๆ ของเครือข่า ระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่เป็นที่นิยม                                         เช่น windows server2003, Novell netware, sun solaris และ Red Hat Linux เป็นต้น

การแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ

   
 ความสามารถในการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงนั้น ได้ถูกพิสูจน์แล้วว่าเป็น
เหตุผลหลักของการคิดค้นเทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การใช้เว็บและ mail เป็นกิจกรรมที่ทำกันมากที่สุดบนเครือข่าย อินเตอร์เน็ต หลายๆ องค์กรสร้างเครือข่ายเพื่อที่จะใช้อีเมล์และเว็บ ซึ้งอาจจะเป็นการใช้เฉพาะองค์กร หรือที่เรียกว่า "ระบบอินเตอร์เน็ต(Internet)" ซึ้งเป็นศูนย์รวมข้อมูลขององค์กร
เพื่อให้บริการข้อมูลข่าวสารต่างๆ กับสมาชิกภายในองค์กร สมาชิกสามารถที่จะเข้ามาอ่านหรือสืบค้นข้อมูลเมือต้องการ 
    ความสามารถในการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านเครือข่ายได้ ทำให้ความจำเป็นที่ต้องใช้เอกสารกระดาษในการสื่อสารลดน้อยลง เช่น หนังสือเวียนประเภทต่างๆ ที่ต้องส่งให้สมาชิกแต่ละคนในองค์กร แทนที่จะใช้กระดาษ ก็จะใช้วิธีการส่งแนบไปกับอีเมล์ เป็นต้นวิธีนี้ประเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารภายใน และในเวลาเดียวกัน เช่น ผู้จัดการสามารถติดต่อกับสมาชิกหลายๆ คน เพื่อนัดหมายการประชุมโดยใช้โปรแกรมไมโคซอฟต์เอาต์ลุด (Outlook) ได้

ทำไมต้องสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์



คอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันมีประสิทธิภาพสูงมาก สามารถทำงานหลายๆอย่างในเวลาเดียวกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วถ้าทำงานได้รวดเร็วแล้วเราทำไมต้องมีความจำเป็นที่ต้องเชื่อมต่อเครือข่ายอีก คำตอบง่ายๆ ก็คือ มีแน่นอน การเชื่อต่อกันเป็นเครือข่ายนั้นมีข้อดีหรือประโยชน์ดังนี้

  • สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ
  • สามารถแชร์ทรัพยากร เช่น เครื่องพิมพ์ ฮาร์ดิสก์ ซีดีไรเตอร์ ไว้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
  • ประหยัดเนื่องจากสามารถแชร์ทรัพยากรร่วมกันได้
  • สามารถแชร์เอกสาร เช่น บันทึกข้อมูลต่างๆ ตารางข้อมูล ใบส่งของ บัญชีต่างๆ
  • สามารถใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ mail ในการติดต่อสื่อสารผู้ที่อยู่ห่างไกลได้อย่างรวมเร็ว
  • การสนทนาผ่านเครือข่าย หรือการแชต (chat)
  • การประชุมระยะไกล (Video conference)
  • การแชร์ไฟล์ต่างๆ เช่น รูปภาพ วิดีโอ เพลง เป็นต้น
  • การแชร์ software ต่างๆ เช่น ไมโคซอฟต์ออฟฟิศ  โปรแกรมฐานข้อมูล เป็นต้น

นี้้เป็นเพียงประโยชน์บางประการเท่านั้นการเชื่อมต่อเครืองข่ายยังมีอีกหลายๆ อย่างที่ไม่ได่กล่าวม

เครือข่ายคอมพิวเตอร์คืออะไร





เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (computer network) คือระบบที่มีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยสองเครื่องเชื่อมต่อกันโดยใช้สื่อกลาง และสามารถสื่อสารข้อมูลกันได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ทรัพยากร (Resources) ที่มีอยู่ในเครือข่ายรวมกันได้
เช่น เครื่องพิมพ์  CD-ROM  scanner  เป็นต้น    การใช้ทรัพยากรเหล่านี้ร่วมกันทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก
เมื่อมีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นๆ ที่อยู่ห่างไกล เช่น ระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นระบบที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทั่วโลก
 ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลได้กับคนทั่วโลก
แนวคิดการสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั้นเริ่มมาจากการที่ผู้ใช้ต้องการที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลกันอย่างมีประสิทธิภาพ
และรวดเร็ว คอมพิวเตอร์เดียว เป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถในการประมวลข้อมูลในปริมาณมากอย่างรวดเร็วอยู่แล้ว
แต่ข้อเสียคือ ผู้ใช้ไม่สามารถแชร์ข้อมูลนั้นกันคนอื่นอย่างมีประสิทธิภาพได้
หากเราสารถที่จะนำคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องมาทำการเชื่อมต่อกันได้ก็จะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น