จุดประสงค์ของการประดิษฐ์คอมในสมัยแรกนั้น เพื่อจะให้คอมพิวเตอร์ทำงานบางอย่างแทนมนุษย์ เช่น การคำนวณเลข ซึ่งถ้าเป็นตัวเลขจำนวนมากๆ มนุษย์จะใช้เวลาในการคำนวณมากและมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาดได้มาก ในขณะที่คอมพิวเตอร์ สามารถคำนวณได้เร็วกว่า อีกทั้งยังมีความแม่นยำและมีความผิดพลาดน้อยกว่ามนุษย์กระทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงจะต้องทำงานกันเป็นหมู่คณะ หรือ ทีมเวิร์ค (teamwork)คอมพิวเตอร์ก็เช่นเดียวกัน

วันเสาร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

อีเธอร์เน็ต Ethernet

     
   

 อีเธอร์เน็ต (Ethernet) ได้ถูกคิดค้นขึ้นตั้งแต่ทศวรรษ 1970 และยังคงเป็นเทคโนโลยีชั้นนำของเครือข่ายท้องถิ่น อีเธอร์เน็ตตั้งอยู่บนมาตรฐานการส่งข้อมูลหรือโปรโตคอล CSMA/CD (Carrier Sense Multiple Access With Collision Detection) โปรโตคอลนี้ถูกใช้สำหรับการเข้าใช้สื่อสารกลางในการส่งสัญญาณที่แชร์กันระหว่างสถานีหรือโหนต่างๆ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้ เมื่อโหนดใดๆ ต้องการที่จะส่งข้อมูลจะต้องคอยฟังก่อน (Carrier Sense) ว่าโหนดอื่นกำลังส่งข้อมูลอยู่หรือไม่ ถ้ามีให้รอจนกว่าเครื่องนั้นจะส่งเสร็จก่อน แล้วค่อยเริ่มส่งข้อมูล และในขณะที่กำลังส่งข้อมูลอยู่นั้นต้องตรวจสอบว่ามีการชนกันของข้อมูลเกิดขึ้นหรือไม่ (Collision Detection) ถ้ามีการชนกันของข้อมูลเกิดขึ้นให้อยู่ทำการส่งข้อมูลทันที แล้วค่อยเริ่มกระบวนการส่งข้อมูลใหม่อีกครั้งในขณะเดี่ยวกันในขณะหนึ่ง การชนกันของข้อมูลเกิดขึ้นเนื่องจากอีเธอร์เน็ตจะใช้สื่อการรวมกัน ซึ่งเรียกว่า "บัส (Bus)" ฉะนั้นจึงมีโหนดที่ส่งข้อมูลได้แค่โหนดเดียวในขณะใดขณะหนึ่ง การชนกันของข้อมูลจะกลายเป็นขยะหรืออ่านไม่ได้ทันที่ เมื่อจำนวนโหนดเพิ่มมากขึ้นความน่าจะเป็น
ที่ข้อมูลจะชนกันก็เพิ่มขึ้นตามลำดับ
          ตามมาตรฐานแล้วอีเธอร์เน็ตจะมีอัตราการส่งข้อมูลหรือแบนด์วิธที่ 10 Mbps
 (สิบล้านบิตต่อวินาที) ในขณะที่ฟาสต์อีเธอร์เน็ต (Fast Ethernet) มีการคล้ายๆ กันเพียงแต่มีอัตราข้อมูลที่สูงกว่า 10 เท่า หรือ 100 Mbps ส่วนกิกะบิตอีเธอร์เน็ต (Gigabit Ethernet) มีอัตราข้อมูลสูงสุดคือ 1,000 Mbps หรือ 1 Gbps และในขณะที่กำลังเขียนหนังสือเล่มนี้กำลังมีการพัฒนาอิเธอร์เน็ตที่ความเร็ว 10 Gbps ซึ้งเรียกว่า เทนกิกะบิตอิเธอร์เน็ต (10G Ethernet) 
         นอกจากข้อแตกต่างในเรื่องของความเร็วแล้ว อีเธอร์เน็ตยังแบ่งย่อยออกเป็นแชร์อิเธอร์เน็ต (Shared Ethernet) และสวิตซ์อีเธอร์เน็ต (Switched Ethernet) โดยแชร์อิเธอร์เน็ตมีการใช้ตัวกลางร่วมกันคล้ายๆ กับถนนี่มีเลนเดียว ดังนั้นจึงมีรถวิ่งบนถนนได้แค่คันเดียวในขณะใดขณะหนึ่ง ในความหมายเครือข่ายก็คือ ในขณะใดขณะหนึ่งจะมีแค่สถานีเดี่ยวที่สามารถส่งข้อมูลได้ อุปกรณ์เครือข่ายทีใช้สำหรับแชร์อิเธอร์เน็ตคือ ฮับ (Hub) ส่วนสวิตช์อิเธอร์เน็ต (Switched Ethernet) จะเปรียบได้กับถนนที่มีหลายเลน ดังนั้นจึงมีรถหลายคันที่สามารถวิ่งบนถนนได้ในเวลาเดียวกัน ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้ในสวิตซ์อิเธอร์เน็ตก็คงเป็นสวิตช์นั่นเอง

       

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น