จุดประสงค์ของการประดิษฐ์คอมในสมัยแรกนั้น เพื่อจะให้คอมพิวเตอร์ทำงานบางอย่างแทนมนุษย์ เช่น การคำนวณเลข ซึ่งถ้าเป็นตัวเลขจำนวนมากๆ มนุษย์จะใช้เวลาในการคำนวณมากและมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาดได้มาก ในขณะที่คอมพิวเตอร์ สามารถคำนวณได้เร็วกว่า อีกทั้งยังมีความแม่นยำและมีความผิดพลาดน้อยกว่ามนุษย์กระทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงจะต้องทำงานกันเป็นหมู่คณะ หรือ ทีมเวิร์ค (teamwork)คอมพิวเตอร์ก็เช่นเดียวกัน

วันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เครือข่ายแบบไคเอนท์เซิร์ฟเวอร์ client/server network

 

   ถ้ระบบเครือข่ายมีคอมพิวเตอร์จำนวนไม่มากนัก ควรสร้างเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์ เนื่องจากง่ายและค่าใช้จ่ายจะถูกกว่า แต่เมื่อเครือข่ายมีการขยายใหญ่ จำนวนผู้ใช้มากขึ้น การดูแลและจัดการระบบก็จะซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เครือข่ายจำเป็นต้องมีเซิร์ฟเวอร์ทำหน้าที่จัดการเรื่องต่างๆ และให้บริการอื่นๆ เครื่องเซิร์ฟเวอร์นั้นควรที่จะเป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพสูงและสามารถให้บริการกับผู้ใช้ได้หลายๆ คนในเวลาเดียวกัและขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยในการเข้าใช้บริการและทรัพยากรต่างๆ ของผู้ใช้เครือข่ายแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์เป็นระบบที่ส่วนใหญ่ยอมรับว่าเป็นมาตรฐานของการสร้างเครือข่ายในปัจจุบันแล้ว
     ถึงแม้ว่าการติดตั้ง การกำหนดค่าต่างๆ และการดูแลและการจัดการเครือข่ายแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์จะค่อนข้างยากกว่าแบบเพียร์ทูเพียร์ก็ตาม แต่เครือข่ายแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์ก็มีข้อได้เปรียบอยู่หลายข้อดังนี้


        เซิร์ฟเวอร์ทำหน้าที่ให้บริการด้านต่างๆ แก่ผู้ใช้ ในขณะเดียวกันก็ควบคุมและรักษาความปลอดภัยข้อมูลด้วย เครือข่ายแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์จะรวมศูนย์การดูแลและจัดการเครือข่ายพร้อมทั้งควบคุมการเข้าถึงข้อมูลและทรัพยากรที่มีการแชร์ในเครือข่าย เนื่องจากว่าทรัพยากรเหล่านี้ถูกเก็บรวบรวมไว้ที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์จึงทำให้ง่ายต่อการค้นหาและจัดการมากกว่าทรัพยากรที่ถูกเก็บไว้กระจัดกระจายตามเครื่องไคลเอนท์ต่างๆเหมือดังในเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์


           ความปลอดภัยของข้อมูลอาจเป็นหนึ่งในจุดประสงค์หลักที่ทำให้ต้องเลือกเครือข่ายแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์ เพราะในสภาวะแวดล้อมอย่างนี้ผู้ดูแลระบบสามารถกำหนดนโยบายการร้กษาความปลอดภัย และบังคับใช้ทุกคนในเครือข่ายได้ ทำให้การรักษาความปลอดภัยง่ายขึ้น
          

          ข้อมมูลถือได้ว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดขององค์กร ถ้าข้อมูลเกิดความเสียงหายอาจมีผลกระทบต่อองค์กรมาก ความเสียงหายที่อาจเกิดกับข้อมูลนั้นอาจเกิดจากหลายสาเหตุ แต่เราสามารถป้องกันความเสียงหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ วิธีหนึ่งก็คือการสำรองข้อมูล เพื่อเมื่อเซิร์ฟเวอร์ล้มเหลวก็สามารถกู้คืนได้ การเก็บสำรองข้อมูลสามารถทำได้วันละหลายๆ ครั้ง หรือสัปดาห์ละครั้ง ขึ้นอยู่กับความสำคัญของข้อมูลและความถี่ของการเปลี่ยนแปลงข้อมูล ผู้ดูแลระบบสามารถกำหนดให้เซร์ฟเวอร์ทำการบันทึกข้อมูลสำรองโดยอัตโนมัติไม่ว่าเครื่องเซิร์ฟเวอร์จะตั้ง ณ จุดใดในเครือข่าย

          เนื่องจากเครือข่ายเซิร์ฟเวอร์มีโปรแกรมอเนกประสงค์ท่ใช้ในการจัดการเครือข่ายหลายอย่าง จึงทำหให้เครือข่ายแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์สามารถผู้ใช้ได้เป็นพันๆ คนซึ้งในสภาพแวดล้อมอย่างนี้ไม่สามารถทำได้ในเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์ เนื่องจกาการจัดการเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์นั้นไม่ใช้แบบรวมศูนย์ทำให้การจัดการผู้ใช้นับพัน น้้นเป็นงานที่เป็นไปไม่ได้


วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์ Peer-to-Peer Network


        เครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์ (Peer-to-Peer Network) เครือข่ายประเภทนี้จะไม่มีเครื่องเซิร์ฟเวอร์ และไม่มีการแบ่งชั้นความสำคัญของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเข้ากับเครือข่าย คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะมีสิทธิเท่าเทียมกันในการจักการใช้เครือข่าย ซึ่งเรียกว่า เพียร์(Peer) นั่นเอง คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะทำหน้าที่เป็นทั้งไคลเอนท์และเซิร์ฟเวอร์แล้วแต่การใช้งานของผู้ใช้ เครือข่ายประเภทนี้ ไม่จำเป็นต้องมีผู้ดูแลและจัดการระบบ หน้าที่นี้จะกระจายไปยังผู้ใช้แต่ละคน เนื่องจากผู้ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะเป็นคนกำหนดว่าข้อมูลหรือทรัพยากรใดบ้างของเครื่องนั้นที่ต้องการแชร์กับผู้ใช้คนอื่นๆ



        การใช้งานแบบเพียร์ทูเพียร์ บางที่ก็เรียกว่า "เวิร์คกรุ๊ป (Work group)" หรือกลุ่มของคนที่ทำงานร่วมกันเป็นทีม ซึ่งส่วนมากจะมีจำนวนน้อยกว่าสิบคน เครือข่ายประเภทนี้จะเป็นแบบง่ายๆ ไม่ซับซ้อนมากเนื่องจากคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทำหน้าที่เป็นทั้งไคลเอนท์และเซิร์ฟเวอร์ ฉะนั้นจึงไม่จำเป็นที่ต้องมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์เพราะต้องมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่มีราคาแพงทำหน้าที่จัดการเครือข่าย
        ระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์นี้ไม่จำเป็นต้องเป็นซอฟต์แวร์ที่มีฟังก์ชัน และระบบรักษาความปลอดภัยเท่ากับระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เช่น ระบบปฏิบัติการที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์ อาจจะใช้แค่วินโดวส์ 95/98/Me ในขณะที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์อาจต้องใช้วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2002/2003 ซึ่งราคาของระบบปฏิบัติการนี้จะแพงกว่ากันมาก
      เครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์เหมาะสำหรับสภาแวดล้อมดังต่อไปนี้

วันพุธที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ประเภทของเครือข่ายแบ่งตามหน้าที่คอมพิวเตอร์

         การจำแนกประเภทของเครือข่ายยังสามารถจำแนกได้โดยใช้ลักษณะการแชร์ข้อมูลของคอมพิวเตอร์ หรือหน้าที่ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องเกณฑ์ในการแบ่งประเภทของเครือข่าย ซึ่งเมื่อใช้หลักการนี้แล้วเราสามารถแบ่งเครือข่ายได้เป็น 2 ประเภท


  • เครือข่ายแบบเท่าเทียม (Peer-to-peer network)
  • เครือข่ายแบบผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ (client/server Network)
หน้าที่เครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายยังแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

  • เซิร์ฟเวอร์ (Server) คือคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้บริการต่างๆ ให้แก่คอมพิวเตอร์เครื่องอื่น
  • ไคลเอนท์ (Client) คือคอมพิวเตอร์ที่เข้าไปใช้บริการต่างๆ ของเซิร์ฟเวอร์

        โดยปกติเมื่อมีคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องถูกเชื่อมต่อเข้ากันกับเครือข่ายแล้วมักจะมีคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งเป็น "เซิร์ฟเวอร์" ซึ่งจะทำหน้าที่ให้บริการต่างๆ เช่น เป็นศูนย์กลางในการจัดเก็บข้อมูล ไฟล์ หรือ โปรแกรมต่างๆ นอกจากนี้ยังทำหน่าที่จัดการเกี่ยวกับทรัพยากรที่อยู่ในระบบเคือข่าย เช่น เครื่องพิมพ์, CD-ROM เป็นต้น ซึ่งการใช้ทรัพยากรเหล่านี้ร่วมกันทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในอุปกรณ์เหล่านี้ได้ ส่วนบริการแก่ผู้ใช้หลายๆ คนจำเป็นต้องเป็นเครื่อที่มีประสิทธิภาพดีพอ ดังนั้นเครื่องที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ปกติจะมีราคาแพงกว่าเครื่องไคลเอนท์ทั่วไป

      ในระบบเครือข่ายขนาดเล็กที่มีคอมพิวเตอร์จำนวนไม่กี่เครื่อง ไม่จำเป็นต้องมีคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์อย่างเดียวเสมอไป การสื่อสารอาจเป็นไปในรูปแบบเพียร์ทูเพียร์ หรือคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องทำหน่าที่เป็นทั้งเซิร์ฟเวอร์และไคลเอนท์ในเวลาเดียวกัน ตำว่า "Peer" แปลงว่าเท่าเทียมกัน ดังน้้น เครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์นี้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะทำหน้าที่คล้ายกัน คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายแบบนี้ยังคงสามารถที่จะรับส่งข้อมูลถึงกันและกันได้ สามารถถ่ายโอนไฟล์ไปยังฮาร์ดดิสก์ของอีกเครื่องหนึ่งได้ หรือแม้แต่ใช้เครื่องพิมพ์ร่วมกันได้ อย่างไรก็ตามเมื่อเครือข่ายมีการขยายใหญ่ขึ้น การมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์จะมีความสะดวกต่อการจัดระบบเครือข่าย เช่น การจัดการพื้นที่เก็บข้อมูล การควบคุมการใช้เครื่องพิมพ์ และการอัพเกรดโปรแกรมต่างๆ เป็นต้น
      เครือข่ายทั่งสองประเภทคือ เครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์ และเครือข่ายแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์นั้นมีข้อดีข้อเสียงที่แตกต่างกัน ซึ่งการเลือกใช้จะขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานของเครือข่าย สิ่งที่ต้องพิจารณามีดังนี้
  • จำนวนผู้ใช้ หรือจำนวนคอมพิวเตอร์
  • การรักษาตความปลอดภัยของข้อมูล
  • การดูแลและจัดการระบบ
  • ปริมาณข้อมูลที่รับส่งผ่านเครือข่า
  • ความต้องการใช้ทรัพยากรเครือข่ายของผู้ใช้งานแต่ละคน
  • งบประมาณ


วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เครือข่ายบิเวณกว้าง Wide Area Network

          

                  เครือข่ายบิเวณกว้าง (Wide Area Network) เป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมพื้นที่บริเวณกว้าง หรืออาจจะครอบคลุมทั่วโลกก็ได้ ตัวอย่างเช่น เครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เรารู้จักกันดี WAN จะใช้สำหรับการเชื่อมต่อระหว่าง LAN ที่อยู่ห่างไกลกัน เช่น การเชื่อมต่อเครือข่ายของสำนักงานย่อยที่อยู่ห่างไกลกัน เป็นต้น
          LAN เป็นเทคโนโลยีสำหรับการเชื่อมต่อเครือข่ายภายในอาคาร หรือพื้นที่ที่มีรัศมีประมาณ
 2-3กิโลเมตร ส่วน WAN เป็นเครือข่ายที่ใช้สำหรับการเชื่อมต่อระยะไกล เช่น เครือข่ายภายในหรือระหว่างเมือง หรือแม้กระทั่งการเชื่่อมต่อระหว่างประเทศทั่วโลก เทคโนโลยีที่จัดอยู่ในประเภท WAN เช่น รีโมทแอ็กเซสส์ (Remote Access), สายคู่เช่า (Leased Line), ISDN (Integrated Service Digital Network), ADSL (Asynchronous Digital Subscribe Line), Frame Relay และระบบดาวเทียม เป็นต้น
           รีโมทแอ็กเซสส์เป็นเครือข่ายที่ใช้ระบบโทรศัพท์เป็นสื่อ (Dial up) ที่ให้ผู้ใช้ที่อยู่ห่างไกลสามารถเชื่อมต่อเข้ากับศูนย์กลางเครือข่ายได้ การเชื่อมต่อเครือข่ายเข้ากับระบบอินเตอร์เน็ตก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของรีโมทแอ็กเซสส์ กล่าวคือผู้ใช้สามารถที่จะเข้าถึงอินเตอร์เน็ตโดยการเชื่อมต่อเข้ากับโมเด็มหมุนไปที่ ISP (Internet service provider) เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตได้ ผู้ใช้หลายๆคนที่อยู่บนเครือข่ายท้องถิ้นสามารถต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต โดยผ่านเราท์เตอร์ โดยทั่วไปเครือข่าย LAN มีอัตราการส่งข้อมูลที่สูงกว่าเครือข่าย WAN ตัวอย่างเช่น อิเธอร์เน็ต มีอัตราการส่งข้อมูลที่ 10 Mbps ใยขณะที่ความเร็วสูงสุดของโมเด็มในปัจจุบันที่ 56 Kbps ซึ้งน้อยกว่าหนึ่งเปอร์เซ็นต์ของแบนวิธของอิเธอร์เน็ต แม้กระทั่งการเชื่อมต่อแบบ T-1 ยังมีอัตราข้อมูลแค่ 1.5 Mbps อย่างไรก็ตามโดยธรรมชาติของการสื่อสารข้อมูลส่วนใหญ่จะอยู่ภายในเครือข่ายท้องถิ่น

ATM

 


 ATM ย่อมาจาก "Asynchronous Transfer Mode" ไม่ได้หมายถึงตู่ ATM (Automatic Teller Machine) ที่เราใช้ถอนเงินสดจากธนาคาร แต่บางตู้ ATM ที่เราใช้ถอนเงินสดอาจจะเชื่อมต่อกับศูนย์กลางด้วยระบบเครือข่ายแบบ ATM ก็ได้ ATM เป็นมาตรฐานการรับส่งข้อมูลที่กำหนดโดย ITU-T (International Telecommunication Union- Telecommunication Standard Sector) ซึ้งจะรวมบริการต่างๆ เช่น ข้อมูล แต่ Mbps จนถึง Gbps   ปัจจุบันยังทมีการใช้งาน ATM ไม่มากเท่ากับอิเธอร์เน็ต แต่มีแนวโน้มว่า ATM อาจจะเป็นอีกทางเลือกอย่างหนึ่งที่นิยมในเครือข่ายในอนาคตก็ได้

โทเคนริง Token Ring

           

              เครือข่ายแบบโทเคนริง (Token Ring) ซึ่งจะมีลักษณะการเชื่อมต่อแบบวงแหวนนี้ ถือได้ว่าเป็นเครือข่ายที่กำลังล้าสมัยเพราะมีการใช้น้อยลง ไทเคนริงนิยมมากในการสร้างเครือข่ายสมัยแรกๆ เนื่องจากข้อดีของการส่งข้อมูลในเครือข่ายแบบนี้จะไม่มีการชนกันของข้อมูล เหมือนกับเครือข่ายแบบอีเธอร์เน็ต แต่ข้อเสียงของเครือข่ายประเภทนี้จะอยู่ที่ความสามารถในการขยายเครือข่าย (Scalability) และการบริหารและจัดการเครือข่ายจะค่อยข้างอยกเครือข่ายประเภทนี้ยังมีใช้อยู่กับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ของบริษัท IBM ที่เป็นระบบเมนเฟรมและมินิคอมพิวเตอร์

วันเสาร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

อีเธอร์เน็ต Ethernet

     
   

 อีเธอร์เน็ต (Ethernet) ได้ถูกคิดค้นขึ้นตั้งแต่ทศวรรษ 1970 และยังคงเป็นเทคโนโลยีชั้นนำของเครือข่ายท้องถิ่น อีเธอร์เน็ตตั้งอยู่บนมาตรฐานการส่งข้อมูลหรือโปรโตคอล CSMA/CD (Carrier Sense Multiple Access With Collision Detection) โปรโตคอลนี้ถูกใช้สำหรับการเข้าใช้สื่อสารกลางในการส่งสัญญาณที่แชร์กันระหว่างสถานีหรือโหนต่างๆ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้ เมื่อโหนดใดๆ ต้องการที่จะส่งข้อมูลจะต้องคอยฟังก่อน (Carrier Sense) ว่าโหนดอื่นกำลังส่งข้อมูลอยู่หรือไม่ ถ้ามีให้รอจนกว่าเครื่องนั้นจะส่งเสร็จก่อน แล้วค่อยเริ่มส่งข้อมูล และในขณะที่กำลังส่งข้อมูลอยู่นั้นต้องตรวจสอบว่ามีการชนกันของข้อมูลเกิดขึ้นหรือไม่ (Collision Detection) ถ้ามีการชนกันของข้อมูลเกิดขึ้นให้อยู่ทำการส่งข้อมูลทันที แล้วค่อยเริ่มกระบวนการส่งข้อมูลใหม่อีกครั้งในขณะเดี่ยวกันในขณะหนึ่ง การชนกันของข้อมูลเกิดขึ้นเนื่องจากอีเธอร์เน็ตจะใช้สื่อการรวมกัน ซึ่งเรียกว่า "บัส (Bus)" ฉะนั้นจึงมีโหนดที่ส่งข้อมูลได้แค่โหนดเดียวในขณะใดขณะหนึ่ง การชนกันของข้อมูลจะกลายเป็นขยะหรืออ่านไม่ได้ทันที่ เมื่อจำนวนโหนดเพิ่มมากขึ้นความน่าจะเป็น
ที่ข้อมูลจะชนกันก็เพิ่มขึ้นตามลำดับ
          ตามมาตรฐานแล้วอีเธอร์เน็ตจะมีอัตราการส่งข้อมูลหรือแบนด์วิธที่ 10 Mbps
 (สิบล้านบิตต่อวินาที) ในขณะที่ฟาสต์อีเธอร์เน็ต (Fast Ethernet) มีการคล้ายๆ กันเพียงแต่มีอัตราข้อมูลที่สูงกว่า 10 เท่า หรือ 100 Mbps ส่วนกิกะบิตอีเธอร์เน็ต (Gigabit Ethernet) มีอัตราข้อมูลสูงสุดคือ 1,000 Mbps หรือ 1 Gbps และในขณะที่กำลังเขียนหนังสือเล่มนี้กำลังมีการพัฒนาอิเธอร์เน็ตที่ความเร็ว 10 Gbps ซึ้งเรียกว่า เทนกิกะบิตอิเธอร์เน็ต (10G Ethernet) 
         นอกจากข้อแตกต่างในเรื่องของความเร็วแล้ว อีเธอร์เน็ตยังแบ่งย่อยออกเป็นแชร์อิเธอร์เน็ต (Shared Ethernet) และสวิตซ์อีเธอร์เน็ต (Switched Ethernet) โดยแชร์อิเธอร์เน็ตมีการใช้ตัวกลางร่วมกันคล้ายๆ กับถนนี่มีเลนเดียว ดังนั้นจึงมีรถวิ่งบนถนนได้แค่คันเดียวในขณะใดขณะหนึ่ง ในความหมายเครือข่ายก็คือ ในขณะใดขณะหนึ่งจะมีแค่สถานีเดี่ยวที่สามารถส่งข้อมูลได้ อุปกรณ์เครือข่ายทีใช้สำหรับแชร์อิเธอร์เน็ตคือ ฮับ (Hub) ส่วนสวิตช์อิเธอร์เน็ต (Switched Ethernet) จะเปรียบได้กับถนนที่มีหลายเลน ดังนั้นจึงมีรถหลายคันที่สามารถวิ่งบนถนนได้ในเวลาเดียวกัน ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้ในสวิตซ์อิเธอร์เน็ตก็คงเป็นสวิตช์นั่นเอง